โครงสร้างที่ใช้ในการควบคุม
โปรแกรมทุกโปรแกรมสามารถเขียนขึ้นได้โดยใช้โครงสร้างมาทำการควบคุมเพียง
3 ชนิดเท่านั้น
คือ
3.1 โครงสร้างตามลำดับ (Sequence structure)
เป็นโครงสร้างของคำสั่งที่คอมพิวเตอร์จะทำงานไปตามลำดับที่เขียนไว้
ถ้าไม่ได้เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานหรือมีเงื่อนไขเพิ่มเติม
3.2 โครงสร้างทางเลือก (Selection structure)
โครงสร้างแบบทางเลือก if คือ
โครงสร้างสำหรับใช้เลือกทำคำสั่ง (หรือกลุ่มคำสั่ง) โดยอาศัยการตรวจสอบเงื่อนไข ซึ่งมี
3 รูปแบบคือ
1. หนึ่งทางเลือก (One Alternative)
โครงสร้างแบบนี้
จะเลือกทำคำสั่ง (หรือกลุ่มคำสั่ง) ก็ต่อเมื่อ ตรวจสอบเงื่อนไขแล้วเป็นจริง
2. สองทางเลือก (Two Alternative)
โครงสร้างแบบนี้มีสองทางเลือก กล่าวคือ เลือกทำคำสั่ง
(หรือกลุ่มคำสั่ง) เมื่อตรวจสอบเงื่อนไขแล้วเป็นจริง หรือ (ทำคำสั่ง
(หรือกลุ่มคำสั่ง) เมื่อตรวจสอบเงื่อนไขแล้วเป็นเท็จ
3. หลายทางเลือก (Multiple-Alternative)
ตรวจสอบเงื่อนไข
ถ้าเป็นจริงทำตามคำสั่งฝั่งด้าน true ถ้าเป็นเท็จ
ทำคำสั่งด้าน false และตรวจสอบเงื่อนไขของ
if ตัวใหม่
3.3 โครงสร้างการทำซ้ำ (Repetition structure)
1.โครงสร้างแบบการทำซ้ำ while
เป็นโครงสร้างที่ใช้ในการทำซ้ำคำสั่งต่าง ๆ โดยจะมีการตรวจสอบเงื่อนไข ซึ่ง◦กรณีที่ผลลัพธ์ของเงื่อนไขไม่เท่ากับ ศูนย์ (จริง) จะทำคำสั่งหรือกลุ่มคำสั่งในแต่ละรอบส่วนกรณีที่ผลลัพธ์ของเงื่อนไขเท่ากับศูนย์ (เท็จ) จะหยุดทำคำสั่งหรือกลุ่มคำสั่งในรอบโดยข้ามไปทำคำสั่งถัดไปจากรอบของโครงสร้าง while เลย
2. โครงสร้างแบบการทำซ้ำ do/while
โครงสร้างแบบการทำซ้ำ while และ for จะต้องมีการตรวจสอบค่าของเงื่อนไขก่อนว่าเป็น จริงหรือเท็จ ก่อนที่จะทำคำสั่ง (กลุ่มคำสั่ง) ภายในรอบ แต่การทำงานบางลักษณะจะต้องทำคำสั่งภายในรอบก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งการทำงานในลักษณะที่กล่าวนี้สามารถใช้คำสั่ง do-while ได้
3. โครงสร้างแบบการทำซ้ำ for
เป็นโครงสร้างที่ใช้สำหรับทำซ้ำคำสั่ง โดยการทำงานของการทำซ้ำ จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
1. ค่าเริ่มต้นของตัวแปรควบคุมการทำซ้ำ
2. ส่วนตรวจสอบเงื่อนไข
3. ส่วนเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรควบคุมการทำซ้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น